วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ


ระบบสายพานลำเลียง


              ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt)เป็นตัวนำพาวัสดุระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน   ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray …
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น …
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System

ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
ตัวอย่างวีดีโอ





รถ AGV ในงานอุตสาหกรรม

                 AGV  คือ

        รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้  รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

     ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ

ประโยนช์ของรถ AGV 

รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)

ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  

ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
2ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน
1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้น
ใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV
 ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 

รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ โมงเช้า ถึง โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 

รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 

กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ 

ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ

ความ ผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า
และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 
การ ลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยว ชน

ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท

เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ
เจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น
ตัวอย่างวีดีโอ รถ AGV







TOYOTA AGV  

     TOYOTA AGV KEY Cart ระบบอัตโนมัติที่มีพื้นฐานจากความเรียบง่ายสู่เส้นชัยของงานคลังสินค้า

KEY Cart เป็น AGVs ที่ไม่เหมือนใครจาก Toyota Material Handling ซึ่งถูกออกแบบมาด้วยพื้นฐานแนวคิด ‘Kaizen Easy Yourself’ ที่ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและความเรียบง่ายในการใช้งาน มุ่งลดขั้นตอนการทำงาน โดยใช้หลักปฏิบัติ ‘เลิก ลด เปลี่ยน’ การเลิก หมายถึง การพิจารณาเพื่อตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป กำจัดขั้นตอนการทำงานที่สิ้นเปลืองเวลา กำลังคน และวัตถุดิบ ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ยังถูกสะท้อนออกมาผ่านการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วยเช่นกัน

รถขนย้ายสินค้าอัตโนมัติ หรือ AGVs

KEY Cart นั้นรองรับน้ำหนักโหลดได้สูงสุดถึง 750 กิโลกรัม สามารถตั้งค่าการทำงานได้อย่างง่ายดายเหลือเชื่อผ่านซอฟต์แวร์สามัญประจำองค์กรอย่าง Microsoft Excel นอกจากนี้ KEY Cart แต่ละตัวจะถูกสั่งทำขึ้นเฉพาะเป็น Tailor-Made เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด มั่นใจได้ว่าไม่ต้องเสียเงินเกินเพื่อส่วนเสริมที่ไม่ต้องการและทุกสิ่งที่จำเป็นจะมีพร้อมใช้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาหลังการขาย








บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด


โมดูลาร์ลำเลียงอาหารกระป๋อง



สายพานโมดูล่ากับกระป๋องต่างๆ 

กระป๋องมี  4  ประเภท ดังนี้

 1. กระป๋องเคลือบดีบุก

กระป๋องชนิดนี้ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกเหมาะสำหรับบรรจุ ผักผลไม้ที่มีสีอ่อน ไม่มีสีขาวละลายน้ำ มีความเป็นกรดต่ำ (pH สูงกว่า 4.5) และมีโปรตีนต่ำ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ แห้ว สับปะรด เป็นต้น ผลไม้เหล่านี้ เมื่อใส่กระป๋องชนิดนี้ จะทำให้มีรสชาติและสีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากกว่าบรรจุในกระป๋องเคลือบแลคเกอร์ ทั้งนี้เพราะกรดในผลไม้เมื่อทำปฏิกิริยากับดีบุกที่เคลือบผิวกระป๋อง จะทำให้อาหารมีกลิ่นและรสเฉพาะรวมทั้งทำให้อาหารมีสีขาวขึ้น

  2. กระป๋องเคลือบแลคเกอร์

กระป๋องชนิดนี้ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกหรือแผ่นเหล็กเคลือบโครเมี่ยม หรือแผ่นอลูมิเนียม แล้วนำมาเคลือบแลคเกอร์ที่ผิวอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คุณภาพของอาหารเสียไปเหมาะสำหรับบรรจุอาหารที่ทำปฏิกิริยากับดีบุกหรือเหล็กแล้วทำให้คุณภาพอาหารเสียไป ใช้บรรจุอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และปลาที่มีสารประกอบของกำมะถันอยู่ในปริมาณที่สูง เช่น ผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลหรือผักบางชนิด รวมทั้งผักหรือผลไม้ที่มีสี และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างสูง เช่น ผลไม้บางชนิด นอกจากนี้อาหารบางชนิดที่มีการเติมสารฟอกสี พวกโซเดียมเมตตาไบซัลไฟท์ จำเป็นต้องบรรจุในกระป๋องเคลือบแลคเกอร์ เช่น เห็ด  หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อกำมะถันทำปฏิกิริยากับดีบุกที่เคลือบกระป๋องทำให้เกิดรอยดำ แม้ว่าบริโภคแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในการเลือกใช้กระป๋องเคลือบแลคเกอร์ ผู้ผลิตต้องเลือกใช้ชนิดของแลคเกอร์ให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิดด้วย

       1. แล็คเกอร์มีหลายชนิดแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภททนกรด ทนกำมะถัน และประเภททั่วไป เหมาะจะใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละประเภทดังนี้

          1.1 ประเภททนกรด สำหรับกระป๋องบรรจุผักผลไม้แปรรูป ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำมะเขือเทศ      สตรอเบอรี่กระป๋อง สับปะรด ฯลฯ

         1.2 ประเภททนกำมะถัน สำหรับกระป๋องบรรจุอาหารทะเลซึ่งมีปริมาณกำมะถันประกอบอยู่สูง เช่น ปลาซาดิน หอยลาย ฯลฯ

          1.3 ประเภททั่วไป สำหรับประป๋องบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด และไม่มีกำมะถันประกอบอยู่ เช่น นมข้นหวาน นมข้นจืด  

       2. กระป๋องอลูมิเนียม 

ถึงแม้การใช้แผ่นเหล็กทำภาชนะบรรจุจะมีความก้าวหน้ามากก็ยังมีผู้สนใจที่จะหาภาชนะบรรจุจากโลหะอื่นๆอีก โลหะที่ได้รับความสนใจมากคือ อลูมิเนียมมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของกรดและมีน้ำหนักเบา กระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้บรรจุอาหารก็มี เช่น ปลากระป๋อง เครื่องดื่ม นมผง ฯลฯกระป๋องอลูมิเนียมเกือบทุกชนิดเป็นแบบที่ใช้ความสะดวกในการเปิด เช่น มีแหวนสำหรับเปิดฝาออก หรือเปิดขอบข้างริมตะเข็บ

       3. กระป๋องกระดาษ (composite can)

เป็นภาชนะบรรจุที่ทำจากวัสดุ 2 ชนิด คือ ตัวกระป๋องทำด้วยกระดาษแข็ง แต่ฝาทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ตัวทำด้วยกระดาษแข็ง โดยปกติทำด้วยกระดาษกราฟ เมื่อม้วนตัวกระดาษแข็งเรียบร้อย แล้วก็บุทับอีกทีหนึ่ง สิ่งที่ใช้บุอาจทำด้วย Panchment paperกระดาษชุบเทียน แผ่นอลูมิเนียม glassine หรือกระดาษชุบ โพลิเอทิลีน ฝาอาจจะทำเป็นแบบครอบหรือสวม หรืออาจทำเป็นตะเข็บคู่ กระป๋องแบบนี้มีลักษณะที่ดีกว่ากระป๋องโลหะ เพราะสามารถทำลายได้ง่ายในปัจจุบันกระป๋องแบบนี้ใช้บรรจุอาหารจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ (potato chip) ถั่วอบ หรืออาหารแห้งอื่นๆ เป็นต้น

credit; https://sites.google.com/site/foodtechnologycanned/canned/prapheth-khxng-krapxng


ขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋อง 

1 การเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation)

เพื่อเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในรูปที่พร้อมสำหรับการบรรจุกระป๋อง

  • การทำความสะอาด (cleaning)
  • การปอกเปลือก (peeling)
  • คัดขนาด (sizing)
  • การคัดเกรด (grading)
  • การลดขนาด (size reduction)
  • การลวก (blanching)
 

 2 การบรรจุ (filling) 

อาหารที่บรรจุ อาจเป็น ของเหลวอย่างเดียว เช่น น้ำผลไม้ ของแข็ง เช่น ชิ้นผลไม้ ชิ้นเนื้อ ผสมกับส่วนที่เป็นของเหลวเช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำมัน ซอส ในการบรรจุจะต้องบรรจุให้อาหารมีปริมาตร น้ำหนักบรรจุ (ไม่บรรจุจนเต็มพอดี เพราะระหว่างการให้ความร้อน จะมีการขยายตัว

  3 การไล่อากาศ (exhausting) 

เพื่อให้ภายในกระป่องมีสภาวะเป็นสุญญากาศ (vacuum) เพื่อยับยั้ง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และป้องกันปฏิกิริยาเคมีกับอาหาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สี กลิ่น และรสชาติ ทำได้โดยการพ่นไอน้ำร้อนไปที่ผิวหน้าของอาหาร ด้วยเครื่องไล่อากาศ (exhauster) เมื่อปิดฝา ไอน้ำร้อนจะควบแน่น ทำให้ที่ว่างเหนือกระป๋องเป็นสุญญากาศ หรืออาจใช้การ ดูดอากาศออกด้วย ก่อนการปิดผนึก

  4 ปิดผนึกสนิท (hermitically seal) 

โดยใช้ hermectically sealed container เพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ และสิ่งปนเปื้อน จากภายนอกปนเปื้อนจากภายนอก รวมทั้ง ไอน้ำ อากาศ ผ่าน เข้าไปภายในบรรจุภัณฑ์ หลังการฆ่าเชื้อแล้ว การปิดฝา กระป๋อง ใช้เครื่องปิดฝากระป๋อง (double seam)

  5 การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) 

โดยการใช้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ ให้เพียงพอกับการฆ่าเชื้อระดับการค้า (commercial sterilization) ตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด (schedule process) การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณภูมิสูงกว่า 100 C จะทำ retort ซึ่งเป็นหม้อฆ่าเชื้อภายใต้ความดันสูง หากฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ100 หรือต่ำกว่า สามารถค่าเชื้อในหม้อต้ม (cooker) ที่ความดันบรรยกาศใด้ เพื่อให้อาหารปลอดภัย และเก็บรักษาไว้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด

  6 การทำให้เย็น 

หลังฆ่าเชื้อแล้วต้องทำให้เย็นทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ทนร้อน (thermophilic bacteria) ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่เจริญได้ การทำเย็นทำได้โดยใช้น้ำเย็น ที่สะอาด

     สายพานโมดูล่า(Modular belt)ช่วยได้ หากท่านเจอปัญหาสายพานสไลด์ วิ่งไม่ตรง งานของลูกค้าที่ต้องการความแม่นยำสูง เนื่องจากใช้ระบบ Robot หรือ Pick and place โดยมี Buffer

     คุณสมบัตริสายพานโมดูล่ายังทนต่อสารเคมีต่างๆ ในกระบวนการบรรจุลงในกระป๋อง 













โมดูลาร์ลำเลียง




วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 หุ่นยนต์ที่ในงานอุตสาหกรรม




          ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาแห่งนวัตกรรมที่ทุกอย่างล้วนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะการคิดค้นสิ่งต่างๆ ไว้คอยช่วยเหลือผู้คนอย่างนวัตกรรมหุ่นยนต์ด้วยเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย หุ่นยนต์ได้กระจายไปอยู่ในแทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือแม้แต่บ้านของเราเอง และแน่นอนว่าสถานที่ที่มีการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์มากที่สุดก็หนีไม่พ้นโรงงานอุตสาหกรรม


ความสำคัญของนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในการส่งออกสำคัญ นั่นทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการคนงานจำนวนมาก  ทว่าด้วยปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน และงานบางประเภทมีการทำงานซ้ำซ้อนกัน หรืองานเสี่ยงและอันตราย นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำ และรวดเร็วกว่ามนุษย์ อีกทั้งยังอดทนต่อสภาพแวดล้อม จึงถูกนำมาใช้แทนที่ และให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมแทน  ซึ่งในปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ยังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งการสั่งซื้อหุ่นยนต์และการจัดจ้างบุคลากร สอดคล้องกับความต้องการในตลาดที่เพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงบำรุงรักษาหุ่นยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ  ยิ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ใหม่ๆ ออกมามากเท่าไหร่ ก็เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้การทำงานและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตชิ้นงานได้หลากหลายและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น ระบบออโตเมชั่นในหุ่นรุ่นใหม่ๆ ระบบ IoT ที่ทำให้หุ่นยนต์หลายตัวทำงานชนิดเดียวกันได้ด้วยการสั่งการจากคนเพียงคนเดียว

นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงาน

         ไม่ว่าจะโรงงานใหญ่หรือเล็ก ถ้าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว อย่างไรก็หนีไม่พ้นการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานเช่น

หุ่นยนต์เชื่อม

         หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูงโดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์

          ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ




การเชื่อมด้วยหุ่นยนต์คืออะไร?

           หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีข้อต่อและแขนติดตั้งไว้ โดยทั่วไปแล้วจะยึดอยู่บนแกนบางอย่างที่ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวและปรับตำแหน่งได้ตามที่จำเป็น หุ่นยนต์จะได้รับการตั้งโปรแกรมมาให้ทำหน้าที่ของตนเอง ทำให้หุ่นดังกล่าวทำงานโดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบ และแทบไม่ต้องการการควบคุมดูแลจากมนุษย์


ประโยชน์ของการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์

           นอกจากตัวหุ่นยนต์เองจะมีราคาถูกลงเรื่อยๆ แล้ว ในอนาคตที่ไกลกว่านั้น หุ่นยนต์เหล่านี้ก็จะมีราคาถูกกว่าแรงงานคนอีกด้วย ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังมีสถานการณ์ที่ยังต้องการช่างเชื่อมที่เป็นมนุษย์อยู่ สำหรับงานเชื่อมในบางกรณีซึ่งมักจะเกิดขึ้นครั้งเดียว หรือต้องการชุดของกระบวนการเฉพาะที่คาดเดายาก การใช้ช่างเชื่อมที่เป็นมนุษย์อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เนื่องจากการตั้งโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำงานเฉพาะทางมากๆ เพียงครั้งเดียวหรือนานๆ ครั้งนั้นส่วนใหญ่แล้วจะสิ้นเปลืองเวลาและไม่คุ้มกับความพยายามที่ลงแรงไป

ดังนั้น หุ่นยนต์และมนุษย์จึงมีแนวโน้มที่จะทำงานเชื่อมที่แตกต่างกันเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกัน โดยหุ่นยนต์มักจะช่วยคนงานที่เป็นมนุษย์จากงานที่ซ้ำซากซึ่งมีความหนักหน่วงและยากลำบากกว่า อย่างไรก็ตาม สำหรับงานเชื่อมที่มีรูปแบบเดิมซ้ำไปเรื่อยๆ หุ่นยนต์นั้นมีแนวโน้มจะมีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงกว่า
 นอกจากนี้ยังช่วยให้เราเพิ่มศักยภาพการผลิตได้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ในอีกหลายปีต่อจากนี้ด้วยศักยภาพและข้อดีหลายประการของเทคโนโลยีนี้ การเชื่อมด้วยหุ่นยนต์จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ หุ่นยนต์จะมีราคาถูกลงและมีความสามารถมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพงานเชื่อมที่ได้ก็สูง คงเส้นคงวา และยังพัฒนาขึ้นไปได้อีก นอกจากนี้ ผู้คนยังตระหนักถึงอันตรายด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากควันเชื่อมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้การกรองอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของระบบเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ไปโดยปริยาย ผู้ผสานระบบยังช่วยให้บริษัทต่างๆ นำระบบอัตโนมัติไปใช้ในโรงงานของตนได้สะดวกขึ้น โดยงานหลักของพวกเขาก็คือการสร้างโซลูชั่นแบบครบวงจรที่ตั้งโปรแกรมและติดตั้งง่าย ในอนาคต บริษัทต่างๆ มีแนวโน้มที่จะสามารถซื้อโซลูชั่นมาตรฐานแบบสมบูรณ์มาครอบครอง ทำให้ติดตั้งหุ่นยนต์ในสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมได้อย่างง่ายดาย โดยที่สถานีการทำงานแต่ละแห่งไม่ต้องดำเนินการทางวิศวกรรมเป็นการเฉพาะให้วุ่นวาย อุตสาหกรรมบางอย่างที่อาจได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์นั้นก็คือยานพาหนะสำหรับงานหนัก (เครื่องบิน รถไฟ รถบัส) และอุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ทำเหมือง






"อาซิโม" หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่น



         หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของญี่ปุ่นจากบริษัทฮอนด้าถูกพัฒนาให้สามารถรับรู้ท่าทางของมนุษย์และตอบโต้บทสนทนาได้  "อาซิโม" หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์เชื้อสายญี่ปุ่น ตอบโต้กับผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ มิไรกัน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติ ในเมืองโตเกียว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหุ่นยนต์อาซิโมถูกปรับปรุงให้สามารถตีความท่าทางมนุษย์ และร่วมตอบโต้บทสนทนาได้  หุ่นยนต์อาซิโมถูกติดเซ็นเซอร์ 6 จุดที่ลำตัว เพื่อที่จะรับรู้ได้ว่ามีผู้คนอยู่บริเวณใดบ้าง แต่เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่สามารถฟังเสียงได้ โดยจะตอบโต้หากมีผู้มากดเลือกคำถามบนกระดานสัมผัส ซึ่งทำให้การสนทนากับเจ้าหุ่นอาซิโมขาดความเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากการตอบโต้กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน  ถึงแม้ว่าหุ่นยนต์อาซิโมจะเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนามากที่สุดแล้ว แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหุ่นยนต์ตัวนี้ขาดประโยชน์ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของฮอนด้ายอมรับว่าการปรับปรุงหุ่นยนต์ให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปนั้น   มีความสำคัญ ที่จะทำให้หุ่นยนต์ไม่ต้องมีคนคอยบังคับอยู่เบื้องหลัง  ทั้งนี้หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้าถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในปี 2539 โดยต่อมาถูกพัฒนาให้เล็กและมีความคล่องแคล่วมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากการสาธิตก่อนหน้านี้ หุ่นยนต์อาซิโม สามารถวิ่ง เตะฟุตบอล และเปิดกระติกนำร้อนดื่มได้ด้วย


                            

                                      หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์










ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์

อ.นพ.วิศัลย์  อนุตระกูลชัย

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

รหัสเอกสาร SD-HA-IMC-110-R-00

อนุมัติวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559


            เป็นที่ยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ การผ่าตัดแบบแผลเล็กภายใต้กล้องให้ประโยชน์ต่อคนไข้ กล่าวคือ คนไข้สามารถฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด แต่ในการผ่าตัดรักษาโรคที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณที่คับแคบและลึก ประกอบกับภาพที่เห็นเป็นสองมิติ ขาดความลึกในการมองเห็นภาพ จึงเป็นข้อจำกัดของเครื่องมือและวิธีการผ่าตัดภายใต้กล้อง

   

            เพื่อลดข้อจำกัดข้างต้น และโดยวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การนำหุ่นยนต์มาช่วยผ่าตัดภายใต้กล้อง ประโยชน์ที่เด่นชัดของการนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้ คือ ภาพที่เห็นในขณะผ่าตัดเป็นแบบสามมิติขยายใหญ่ขึ้น 10 เท่า และแขนของหุ่นยนต์ รวมถึงการออกแบบปลายข้อเครื่องมือ เลียนแบบการหมุนของมือมนุษย์ แต่การเคลื่อนไหวและการหมุนเป็นไปได้อย่างอิสระและหักงอได้มากกว่า จึงทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการผ่าตัด และผลสำเร็จของการผ่าตัดจึงมีมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น




หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประกอบด้วย

     1.  ส่วนควบคุมการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์  ซึ่งศัลยแพทย์จะนั่งหน้าคอนโซล เพื่อควบคุมการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ มีช่องมองภาพการผ่าตัดเป็นภาพ 3 มิติ สามารถมองเห็นมิติ “ความลึก” มีกำลังขยายภาพของกล้องส่องผ่าตัดถึง 10 เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น เพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัด และลดการเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใกล้เคียง


    2. ตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด  ประกอบด้วย แขนหุ่นยนต์ 4 แขน เป็นแขนช่วยจับกล้องหนึ่งแขน และอีกสามแขนสำหรับการติดตั้งเครื่องมือที่ใช้สำหรับทำผ่าตัดที่ออกแบบคล้ายมือ สามารถทำงานแทนมือศัลยแพทย์ แต่มีการพัฒนาเครื่องมือที่เหนือกว่าข้อมือมนุษย์ กล่าวคือ สามารถหักงอข้อมือ และหมุนข้อมือได้อย่างอิสระได้รอบเครื่องมือ จึงสามารถเข้าไปช่วยทำผ่าตัดในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดได้อย่างแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น


      ระบบควบคุมภาพ  เป็นส่วนที่ก่อให้เห็นภาพการผ่าตัดภายใต้กล้อง ในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ ผู้ช่วยผ่าตัด และพยาบาล ได้มองเห็น




























      การผ่าตัดรักษาด้วยหุ่นยนต์ 
          จากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และการพัฒนาเครื่องมือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดในปัจจุบันสามารถนำมาใช้ร่วมกับการผ่าตัดทางศัลยกรรมเกือบทุกประเภท โรคที่สามารถใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ประกอบด้วย

        1. โรคทางเดินปัสสาวะ เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

        2. โรคทางระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่  มะเร็งกระเพาะอาหาร  มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น

        3. โรคระบบนรีเวช เช่น มะเร็งมดลูก การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นต้น

        4. โรคระบบหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด

        5. โรคระบบหู คอ จมูก เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ภายใต้กล้อง


          ประโยชน์ของการผ่าตัดรักษาด้วยหุ่นยนต์

            1. ลดภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดลง โดยเฉพาะการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้ลดอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดลง ที่สำคัญคือ ภาวะปัสสาวะเล็ด และภาวะบกพร่องของการแข็งตัวขององคชาตหลังการผ่าตัด ทำให้คุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดดีขึ้น

            2. เพิ่มความปลอดภัยการผ่าตัดแบบแผลเล็กภายใต้กล้องมากขึ้น จากภาพที่เห็นจากการผ่าตัดขยายใหญ่กว่าปกติ 10 เท่า และเป็นภาพ 3 มิติ ช่วยในการผ่าตัดที่ต้องใช้ความละเอียดสูง เช่น การเลาะต่อมน้ำเหลือง และการผ่าตัดใกล้เส้นประสาท เป็นไปอย่างแม่นยำ

            3. ให้ผลสำเร็จการผ่าตัดรักษาดีกว่า เนื่องจากแขนของหุ่นยนต์สามารถทำการผ่าตัดดีกว่ามือของมนุษย์ ด้วยการออกแบบเครื่องมือให้สามารถเคลื่อนไหวหมุนข้อมือได้อย่างอิสระและหักงอได้

            4. ระยะเวลาในการผ่าตัดสั้นกว่า และสูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อยลง จากความแม่นยำและความนิ่งในการบังคับแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของศัลยแพทย์

            5. อาการปวดแผลหลังการผ่าตัดน้อยกว่าผ่าตัดโดยวิธีอื่น เนื่องจากลดการดึงรั้ง และการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบท่อนำอุปกรณ์

            6. ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้นกว่า ทำให้กลับไปมีกิจวัตรประจำวันได้เร็วขึ้น

            7. การผ่าตัดรักษาด้วยหุ่นยนต์ เป็นการรักษาแบบแผลเล็ก สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อของแผลผ่าตัดได้

                        คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้ในการผ่าตัด ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของวิวัฒนาการผ่าตัด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในภาคเหนือ


                                                      หุ่นยนต์กู้ระเบิด

                           สร้างนวัตกรรม เพื่อผู้กล้า โดย Mahanakorn - Avia Sustained Innovation (MASI)พบกันอีกครั้ง กับ ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ (Applied Innovation Centre : AI Centre) ภายใต้การอำนวยการของ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดมกว่า ปีของการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด โดยเริ่มจากแรง   บันดาลใจที่อยากจะช่วยเหลือประเทศไทยในแบบของวิศวกร โดยจะขอใช้ความรู้ความสามารถที่มี เป็นกำลังหนุนให้กับเหล่าทหารที่ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันประเทศในเหตุการณ์ไม่สงบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเห็นความสำคัญของหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่สามารถเข้าไปเก็บกู้หรือทำลายวัตถุต้องสงสัยแทนเจ้าหน้าที่ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดแม้จะปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ หุ่นยนต์เหล่านี้จะเข้าไปตายแทนเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งแน่นอนว่าคุณค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตคนหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม  จากความคิดนี้ ทำให้ AI Centre เริ่มวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นแรกขึ้น คือ “หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา” (Portable Rescue Robot : PRR) โดยการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงและใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนสูง ด้วยน้ำหนักประมาณ 26 กิโลกรัม ผู้ใช้สามารถพกพาโดยการสะพายหลังหรือยกเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างคล่องตัวส่วนล้อเป็นตีนตะขาบสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระ และติดตั้งแขนกล แกนอิสระพลังสูง สามารถเคลื่อนย้าย สอดส่องวัตถุต้องสงสัย เปิดประตูรถยนต์ได้คล่องตัว อีกทั้งสามารติดตั้งปรับเลี่ยนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ ปืนตัดวงจรระเบิดด้วยแรงดันน้ำ

                           นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ในตัวหุ่น เช่น ระบบควบคุมด้วยสัญญาณดิจิตอลที่ประมวลผลโดยไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบเชื่อมสายและไร้สาย กล้องความละเอียดสูงที่มีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและแสดงผลภาพอย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์วัดระยะ ไฟสปอตไลท์ความสว่างสูงสำหรับการใช้งานในกลางคืน พร้อมกล่องควบคุมที่ออกแบบให้พกพาง่าย ทนทาน และสามารถซ่อมบำรุงได้








                 








                               ระบบขับเคลื่อนโดยใช้ล้อสายพานแบบ Differential Track Wheels มีระบบป้องกันการลื่นไถลขณะปีนป่าย กล้องความละเอียดสูง 1920x1080 สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน (ความสว่าง 0 lux) ในระยะ 15 เมตร ความเร็วสูงสุด 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง
                รับ-ส่งสัญญาณควบคุมระหว่างสถานีควบคุมกับตัวหุ่นยนต์แบบไร้สาย ผ่านระบบ Wi-Max ที่ความถี่ปรับแต่งได้ตั้งแต่ 4-6 GHz มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 28 โวลต์ 16.8 แอมแปร์ ติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระยะเวลาปฏิบัติงานปกติ ชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติงานหนัก ½ ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ และเปลี่ยนแขนกลได้ทันที หรือทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์สำรวจโดยไม่ติดตั้งแขนกลก็ได้
                นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้มีระบบ Interface ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผู้ใช้งานให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยระบบจะเป็นตัวสื่อสารแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้งานทราบในเวลานั้น เช่น ปริมาณแบตเตอรี่ ท่าทางของแขนหุ่นยนต์ ภาพจากกล้องที่หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยการแสดงข้อมูลต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมดให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงมากที่สุด โดยระบบ Interface ถือเป็นระบบที่สำคัญ ต้องทำการออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และมีความน่าเชื่อถือ








                           จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ บริษัท AVIA Group บริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แห่งเดียวในประเทศไทย จึงร่วมมือกันก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้น ในนาม ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน : Mahanakorn - Avia Sustained Innovation (MASI) เพื่อนำความรู้สู่ความยั่งยืน พัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านการวิจัยและผลักดันงานวิจัยไทยสู่มาตรฐานสากลโลก
                จากการก่อตั้ง ศูนย์ MASI นี้ ยิ่งเพิ่มความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาให้กับวิศวกรในการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดมากขึ้น เพื่อให้บรรลุความตั้งใจที่จะลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด มาบัดนี้ ได้กำเนิดหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดรุ่นล่าสุดขึ้น ที่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการทดสอบใช้งานจริง การใช้ความรู้ความสามารถของเหล่าวิศวกร และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดเป็นหุ่นยนต์แห่งความภาคภูมิใจรุ่นใหม่ล่าสุด และจะเปิดตัวในอีกไม่นานนี้ อยากให้รอติดตาม รับรองว่าจะพบกับหุ่นยนต์ที่ทันสมัย ใช้งานได้จริง และมีประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน


                สร้างนวัตกรรม เพื่อผู้กล้า
                         “ 
                คุณค่าของหุ่นยนต์ เทียบไม่ได้เลยกับชีวิตทหารหนึ่งคน แม้ว่าราคาจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม


                http://www.mut.ac.th/uploaded/news/16-10-58/5.JPG




                ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

                ระบบสายพานลำเลียง                ระบบสายพานลำเลียง ( Conveyor)  ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง ( Conveyor )   ที่ใช้สายพาน ( Belt) เ...