วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ


ระบบสายพานลำเลียง


              ระบบสายพานลำเลียง (Conveyor) ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ที่ใช้สายพาน (Belt)เป็นตัวนำพาวัสดุระบบสายพานลำเลียงทำหน้าที่เคลื่อนย้ายวัสดุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  หลังจากวัสดุหรือชิ้นงานผ่านกระบวนการตามขั้นตอนมา เมื่อมาถึงการขนย้ายหรือลำเลียงก็จะใช้ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุหรือชิ้นงาน   ระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray …
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น …
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System

ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
ตัวอย่างวีดีโอ





รถ AGV ในงานอุตสาหกรรม

                 AGV  คือ

        รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้  รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาที
รถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGV

     ทั้งนี้แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบ Maintenace Free สามารถใช้งานได้ติดต่อกันแบบต่อเนื่องนานถึง 8-10 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ

ประโยนช์ของรถ AGV 

รถ AGV power stacker 1 คัน สามารถขับเคลื่อนโดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ จะสามารถประหยัด 
ค่าแรงคนงาน ได้ดังนี้ (ประมาณการที่ค่าแรงขั้นต่ำ300บาท และค่าสวัสดิการอื่นๆ)

ถ้าใช้งานAGV 1 กะ:วัน (8ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 10,000 ฿:เดือน หรือ = 120,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 2 กะ:วัน (16ชม.)ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 20,000 ฿:เดือน หรือ = 240,000฿:ปี 
ถ้าใช้งานAGV 3 กะ:วัน (24ชม.) ลดค่าใช้จ่ายแรงคนงาน คน = 30,000 ฿:เดือน หรือ = 360,000฿:ปี  

ในการลงทุนปรับปรุงรถยกให้เป็นรถ AGV ประมาณเบื้องต้นว่า มีค่าใช้จ่ายราว 300,000 ฿ ต่อคัน จะสามารถคืนทุนในเวลา 
2ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน
1ปี เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
เพียง 10 เดือน ถ้าใช้งาน กะ:วัน 
ซึ่งถ้าลงทุนใช้รถ AGV หลายคันทางบริษัทก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกเป็นอัตราเพิ่มขึ้น
ใน กรณีศึกษา ที่มีการใช้คนงาน คน และ รถ Power stacker 3 คัน  หากมีการใช้ AGV power stacker แทน และใช้งานถึง กะ ปริมาณงานที่ได้จาก รถAGV
 ก็จะเท่ากับ ปริมาณงานของคนงานถึง คน นั่นคือผลกำไรที่ได้คืนมา ประมาณ 90,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,080,000 บาทต่อปี  

เพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการทำงาน 

รถAGV เริ่มงานได้ตรงเวลา ตั้งแต่ โมงเช้า ถึง โมงเย็นโดยไม่ต้องหยุดพัก เข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ สูบบุหรี่ หรือ คุยโทรศัพท์ 

รถAGV ไม่ลาหยุด หรือ ลากิจ ไม่ขาดงานบ่อย งานจะเดินได้สม่ำเสมอ 

กรณี รถเสียทางบริษัทมีบริการ Service online เป็นบริการที่รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย หรือถ้าต้อง มีการ service onsite เราก็สามารถบริการได้รวดเร็ว
เพราะเป็นช่างในเมืองไทย ไม่ต้องรอจากต่างประเทศ 

ความคุ้มทุนจึงเกิดจากปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นด้วย

ลดต้นทุนแฝงด้านความเสียหายที่เกิดจากคนขับ

ความ ผิดพลาดจากมนุษย์เป็นเรื่องปรกติ การขับเฉี่ยว ชน เกิดขึ้นจากความประมาท เลินเล่อ ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นกับรถAGV เป็นการลดความเสียหายของสินค้า
และตัวรถยกเองก็มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น 
การ ลงทุนด้าน Automation จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนความเสียหาย โดยการควบคุมด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ และ อุปกรณ์ป้องกันการเฉี่ยว ชน

ความคุ้มทุนจะมาอยู่ที่ประสิทธิภาพการทำงานที่ ปราศจากอุบัติเหตุ ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมแซม

เพิ่มภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้แก่บริษัท

เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ
เจ้าของกิจการจะรู้สึกได้เองว่า คุ้ม ที่ได้ปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น
ตัวอย่างวีดีโอ รถ AGV







TOYOTA AGV  

     TOYOTA AGV KEY Cart ระบบอัตโนมัติที่มีพื้นฐานจากความเรียบง่ายสู่เส้นชัยของงานคลังสินค้า

KEY Cart เป็น AGVs ที่ไม่เหมือนใครจาก Toyota Material Handling ซึ่งถูกออกแบบมาด้วยพื้นฐานแนวคิด ‘Kaizen Easy Yourself’ ที่ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและความเรียบง่ายในการใช้งาน มุ่งลดขั้นตอนการทำงาน โดยใช้หลักปฏิบัติ ‘เลิก ลด เปลี่ยน’ การเลิก หมายถึง การพิจารณาเพื่อตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป กำจัดขั้นตอนการทำงานที่สิ้นเปลืองเวลา กำลังคน และวัตถุดิบ ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ยังถูกสะท้อนออกมาผ่านการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วยเช่นกัน

รถขนย้ายสินค้าอัตโนมัติ หรือ AGVs

KEY Cart นั้นรองรับน้ำหนักโหลดได้สูงสุดถึง 750 กิโลกรัม สามารถตั้งค่าการทำงานได้อย่างง่ายดายเหลือเชื่อผ่านซอฟต์แวร์สามัญประจำองค์กรอย่าง Microsoft Excel นอกจากนี้ KEY Cart แต่ละตัวจะถูกสั่งทำขึ้นเฉพาะเป็น Tailor-Made เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด มั่นใจได้ว่าไม่ต้องเสียเงินเกินเพื่อส่วนเสริมที่ไม่ต้องการและทุกสิ่งที่จำเป็นจะมีพร้อมใช้ไม่ต้องกังวลกับปัญหาหลังการขาย








บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด


โมดูลาร์ลำเลียงอาหารกระป๋อง



สายพานโมดูล่ากับกระป๋องต่างๆ 

กระป๋องมี  4  ประเภท ดังนี้

 1. กระป๋องเคลือบดีบุก

กระป๋องชนิดนี้ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกเหมาะสำหรับบรรจุ ผักผลไม้ที่มีสีอ่อน ไม่มีสีขาวละลายน้ำ มีความเป็นกรดต่ำ (pH สูงกว่า 4.5) และมีโปรตีนต่ำ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย เงาะ แห้ว สับปะรด เป็นต้น ผลไม้เหล่านี้ เมื่อใส่กระป๋องชนิดนี้ จะทำให้มีรสชาติและสีเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากกว่าบรรจุในกระป๋องเคลือบแลคเกอร์ ทั้งนี้เพราะกรดในผลไม้เมื่อทำปฏิกิริยากับดีบุกที่เคลือบผิวกระป๋อง จะทำให้อาหารมีกลิ่นและรสเฉพาะรวมทั้งทำให้อาหารมีสีขาวขึ้น

  2. กระป๋องเคลือบแลคเกอร์

กระป๋องชนิดนี้ทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกหรือแผ่นเหล็กเคลือบโครเมี่ยม หรือแผ่นอลูมิเนียม แล้วนำมาเคลือบแลคเกอร์ที่ผิวอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คุณภาพของอาหารเสียไปเหมาะสำหรับบรรจุอาหารที่ทำปฏิกิริยากับดีบุกหรือเหล็กแล้วทำให้คุณภาพอาหารเสียไป ใช้บรรจุอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และปลาที่มีสารประกอบของกำมะถันอยู่ในปริมาณที่สูง เช่น ผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลหรือผักบางชนิด รวมทั้งผักหรือผลไม้ที่มีสี และอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างสูง เช่น ผลไม้บางชนิด นอกจากนี้อาหารบางชนิดที่มีการเติมสารฟอกสี พวกโซเดียมเมตตาไบซัลไฟท์ จำเป็นต้องบรรจุในกระป๋องเคลือบแลคเกอร์ เช่น เห็ด  หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อกำมะถันทำปฏิกิริยากับดีบุกที่เคลือบกระป๋องทำให้เกิดรอยดำ แม้ว่าบริโภคแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในการเลือกใช้กระป๋องเคลือบแลคเกอร์ ผู้ผลิตต้องเลือกใช้ชนิดของแลคเกอร์ให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละชนิดด้วย

       1. แล็คเกอร์มีหลายชนิดแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภททนกรด ทนกำมะถัน และประเภททั่วไป เหมาะจะใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละประเภทดังนี้

          1.1 ประเภททนกรด สำหรับกระป๋องบรรจุผักผลไม้แปรรูป ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำมะเขือเทศ      สตรอเบอรี่กระป๋อง สับปะรด ฯลฯ

         1.2 ประเภททนกำมะถัน สำหรับกระป๋องบรรจุอาหารทะเลซึ่งมีปริมาณกำมะถันประกอบอยู่สูง เช่น ปลาซาดิน หอยลาย ฯลฯ

          1.3 ประเภททั่วไป สำหรับประป๋องบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไปที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรด และไม่มีกำมะถันประกอบอยู่ เช่น นมข้นหวาน นมข้นจืด  

       2. กระป๋องอลูมิเนียม 

ถึงแม้การใช้แผ่นเหล็กทำภาชนะบรรจุจะมีความก้าวหน้ามากก็ยังมีผู้สนใจที่จะหาภาชนะบรรจุจากโลหะอื่นๆอีก โลหะที่ได้รับความสนใจมากคือ อลูมิเนียมมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของกรดและมีน้ำหนักเบา กระป๋องอลูมิเนียมที่ใช้บรรจุอาหารก็มี เช่น ปลากระป๋อง เครื่องดื่ม นมผง ฯลฯกระป๋องอลูมิเนียมเกือบทุกชนิดเป็นแบบที่ใช้ความสะดวกในการเปิด เช่น มีแหวนสำหรับเปิดฝาออก หรือเปิดขอบข้างริมตะเข็บ

       3. กระป๋องกระดาษ (composite can)

เป็นภาชนะบรรจุที่ทำจากวัสดุ 2 ชนิด คือ ตัวกระป๋องทำด้วยกระดาษแข็ง แต่ฝาทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ตัวทำด้วยกระดาษแข็ง โดยปกติทำด้วยกระดาษกราฟ เมื่อม้วนตัวกระดาษแข็งเรียบร้อย แล้วก็บุทับอีกทีหนึ่ง สิ่งที่ใช้บุอาจทำด้วย Panchment paperกระดาษชุบเทียน แผ่นอลูมิเนียม glassine หรือกระดาษชุบ โพลิเอทิลีน ฝาอาจจะทำเป็นแบบครอบหรือสวม หรืออาจทำเป็นตะเข็บคู่ กระป๋องแบบนี้มีลักษณะที่ดีกว่ากระป๋องโลหะ เพราะสามารถทำลายได้ง่ายในปัจจุบันกระป๋องแบบนี้ใช้บรรจุอาหารจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ (potato chip) ถั่วอบ หรืออาหารแห้งอื่นๆ เป็นต้น

credit; https://sites.google.com/site/foodtechnologycanned/canned/prapheth-khxng-krapxng


ขั้นตอนการผลิตอาหารกระป๋อง 

1 การเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation)

เพื่อเตรียมวัตถุดิบให้อยู่ในรูปที่พร้อมสำหรับการบรรจุกระป๋อง

  • การทำความสะอาด (cleaning)
  • การปอกเปลือก (peeling)
  • คัดขนาด (sizing)
  • การคัดเกรด (grading)
  • การลดขนาด (size reduction)
  • การลวก (blanching)
 

 2 การบรรจุ (filling) 

อาหารที่บรรจุ อาจเป็น ของเหลวอย่างเดียว เช่น น้ำผลไม้ ของแข็ง เช่น ชิ้นผลไม้ ชิ้นเนื้อ ผสมกับส่วนที่เป็นของเหลวเช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ น้ำมัน ซอส ในการบรรจุจะต้องบรรจุให้อาหารมีปริมาตร น้ำหนักบรรจุ (ไม่บรรจุจนเต็มพอดี เพราะระหว่างการให้ความร้อน จะมีการขยายตัว

  3 การไล่อากาศ (exhausting) 

เพื่อให้ภายในกระป่องมีสภาวะเป็นสุญญากาศ (vacuum) เพื่อยับยั้ง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และป้องกันปฏิกิริยาเคมีกับอาหาร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สี กลิ่น และรสชาติ ทำได้โดยการพ่นไอน้ำร้อนไปที่ผิวหน้าของอาหาร ด้วยเครื่องไล่อากาศ (exhauster) เมื่อปิดฝา ไอน้ำร้อนจะควบแน่น ทำให้ที่ว่างเหนือกระป๋องเป็นสุญญากาศ หรืออาจใช้การ ดูดอากาศออกด้วย ก่อนการปิดผนึก

  4 ปิดผนึกสนิท (hermitically seal) 

โดยใช้ hermectically sealed container เพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ และสิ่งปนเปื้อน จากภายนอกปนเปื้อนจากภายนอก รวมทั้ง ไอน้ำ อากาศ ผ่าน เข้าไปภายในบรรจุภัณฑ์ หลังการฆ่าเชื้อแล้ว การปิดฝา กระป๋อง ใช้เครื่องปิดฝากระป๋อง (double seam)

  5 การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) 

โดยการใช้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ ให้เพียงพอกับการฆ่าเชื้อระดับการค้า (commercial sterilization) ตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนด (schedule process) การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่อุณภูมิสูงกว่า 100 C จะทำ retort ซึ่งเป็นหม้อฆ่าเชื้อภายใต้ความดันสูง หากฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ100 หรือต่ำกว่า สามารถค่าเชื้อในหม้อต้ม (cooker) ที่ความดันบรรยกาศใด้ เพื่อให้อาหารปลอดภัย และเก็บรักษาไว้ได้ในระยะเวลาที่กำหนด

  6 การทำให้เย็น 

หลังฆ่าเชื้อแล้วต้องทำให้เย็นทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ทนร้อน (thermophilic bacteria) ซึ่งอาจหลงเหลืออยู่เจริญได้ การทำเย็นทำได้โดยใช้น้ำเย็น ที่สะอาด

     สายพานโมดูล่า(Modular belt)ช่วยได้ หากท่านเจอปัญหาสายพานสไลด์ วิ่งไม่ตรง งานของลูกค้าที่ต้องการความแม่นยำสูง เนื่องจากใช้ระบบ Robot หรือ Pick and place โดยมี Buffer

     คุณสมบัตริสายพานโมดูล่ายังทนต่อสารเคมีต่างๆ ในกระบวนการบรรจุลงในกระป๋อง 













โมดูลาร์ลำเลียง




ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

ระบบสายพานลำเลียง                ระบบสายพานลำเลียง ( Conveyor)  ระบบสายพานลำเลียง  คือ อุปกรณ์ลำเลียง ( Conveyor )   ที่ใช้สายพาน ( Belt) เ...