ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมาย ถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
- การแชร์ไฟล์ เมื่อ คอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึก ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม
- การติดต่อสื่อสาร โดย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่น เดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
- การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุก เครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน
ระบบเครือข่ายโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือระบบแลน (Local Area Network – LAN)
เป็นการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในองค์กรเดียวกันหรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่ายเช่นในห้องเดียวกันหรือตึกเดียวกันหรือในโรงเรียนเดียวกันต่อเชื่อมกัน
2. เครือข่ายระดับเมืองหรือระบบแมน (Metro Area Network – MAN)
เป็นเครือข่ายระดับเมืองซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ต่างพื้นที่หรืออยู่คนละเมืองเข้าด้วยกันโดยคอมพิวเตอร์ที่นามาเชื่อมโยงกันอาจมีการวางโครงสร้างที่ต่างกันก็ได้
3. เครือข่ายระยะไกลหรือระบบแวน (Wide Area Network – WAN)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือระบบ LAN หลายๆระบบที่กระจายอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่เช่นโมเด็มและโทรศัพท์เป็นเส้นทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ |
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว” (One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด